วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทศกาลสนุกๆของชาวญี่ปุ่น (ทัวร์ญี่ปุ่น iamvacation)

ทัวร์ญี่ปุ่น 

เทศกาลน่าเที่ยวที่สุดขอลญี่ปุ่น 
เทศกาลเซ็ตสึบุน
        : เซ็ตสึบุน หมายถึงวันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิตามประเพณี มีการหว่านถั่วแดงอะซุกิ(あすき) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากบ้านซึ่งมีการจัดพิธีนี้ตามวัดและศาลเจ้าด้วย ประวัติคราวๆ คือเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย มุโรมาจิจิได(ประมาณคริสศตวรรษที่ 17) และก็กระทำติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อถึงวันนี้ในแต่ละบ้านจะให้พวกผู้ชาย คือ พ่อและก็ลูกชาย ใส่หน้ากากผี ปีศาจ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย แล้วก็เอาถั่วหว่านเข้าไป แล้วก็พูดว่า “โอนิวะโซโตะ” 鬼は外 ( おに はそと)แปลว่าสิ่งอัปมงคลทั้งหลายจงออกไปและจะโปรยถั่วจากข้างนอกเข้าไปในบ้านและตะโกนว่า“ฟุกุสะอุจิ” 福は内    ( ふくはうち) แปลว่าความเป็นสิริมงคลจงเข้ามานอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ให้กินถั่วจำนวนเม็ดเท่ากับอายุของตัวเอง จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยไปตลอดปี

 
เทศกาลฮานามิ (Hanami Festival)
       1-15 เดือนเมษายนของทุกปี เทศกาลชมดอกซากุระบาน ช่วงเวลาแห่งความสุข ประจำฤดูใบไม้ผลิ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัย“เฮอัน” แต่ยุคนั้นจำกัดไว้ในหมู่ขุนนางชั้นสูง และชนชั้นผู้ดีโดยเฉพาะ มีการประกวดแต่งกลอน“ไฮกุ” กลอนไฮกุมี 17 พยางค์ บรรทัดแรก 5 พยางค์ บรรทัดต่อมามี 7 พยางค์ บรรทัดสุดท้าย มี 5 พยางค์ ใช้ภาษาเรียบง่าย สั้นๆได้ใจความ บรรทัดสุดท้าย ทิ้งท้ายให้คิด หรือจบแบบพลิกความคาดหมาย  และร้องรำทำเพลงต่อมาจึงเริ่มแพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน ทุกวันนี้เมื่อถึงช่วงเวลาที่ซากุระออกดอกทุกคนจะพากันออกมาชมความงามสะพรั่ง สถานที่ต่างๆที่เป็นจุดชมดอกซากุระบาน จะมีการออกร้านขายของกันอย่างสนุกสนาน ครอบครัว เพื่อนฝูง จะนัดกันออกมาปิกนิก ปิ้งบาร์บีคิว ดื่มสาเกตามสวนสาธารณะ
 
เทศกาลโอบง(Obon)
      : จัดทุกวันที่ 13-16 เดือนสิงหาคมของทุกปี ชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะเชื่อกันว่าดวงวิญญาณคนตายจะกลับลงมาเยี่ยมโลกตามบ้านเรือน จึงมีการจุดตะเกียงหรือคบเพลิงเพื่อส่องนำทางดวงวิญญาณให้กลับบ้านถูก ในเทศกาลมีการร่ายรำพื้นบ้านโบราณบงโอโดริ(Bon Odori)อยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยชาวญี่ปุ่นจะสวมยูกาตะ และต้องสวมถุงเท้าที่เรียกว่า“Zori” และรองเท้าเกี๊ยะ ที่เรียก “Geta”เท่านั้น ถึงจะถูกต้องประเพณี ในวันที่ 13-15 สิงหาคม ก็มีการจัดพิธีกรรมเพื่อบูชาบรรพบุรุษ โดยการจุดไฟต้อนรับที่หน้าประตูบ้าน และถวายผักหน้าแท่นบูชา เอาปักไว้บนตะเกียบ แล้วในตอนเย็นของวันที่ 15 ก็มีการส่งวิญญาณบรรพบุรุษด้วยการจุดไฟที่ เรียกว่า โทโรนางาชิ เป็นโคมกระดาษมีเทียนจุดไฟอยู่ภายใน แล้วนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อนำทางให้วิญญาณบรรพบุรุษลอยออกสู่ทะเล แต่พิธีการลอยโคมไฟของแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป

 
เทศกาลหิมะ Snow Festival
            : จัดที่ Sapporo ทุกเดือนกุมภาพันธ์ อากาศที่หนาวเย็น ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งหน้าสู่เมืองซับโปโร บนเกาะฮอกไกโด เพื่อร่วมสนุกสนานกับเทศกาลหิมะ ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งจัดขึ้นที่ Odori Park ประกอบด้วยจุดเยี่ยมชม 3 จุด ได้แก่ Odori site, Sato-Land site และ Susukino site โดยจุดเด่นของงานอยู่ที่รูปสลักน้ำแข็งสถาปัตยกรรมสำคัญต่างๆ และในงาน Sapporo Snow Festival ครั้งที่ 58  มีจุดเด่นที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทของไทย สลักจากหิมะสามพันลูกบาศก์เมตร ระดมทหารญี่ปุ่นราว 3,000 คน มาช่วยกันแกะสลัก ใช้เวลา 1 เดือน เพื่อเป็นการให้เกียรติประเทศไทยในโอกาสฉลอง 120 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมกว่า 2 ล้านคน

 
เทศกาลตุ๊กตา 
         : เทศกาลตุ๊กตาหรือ "ฮินะมัทสึริ"(ひなまつり) มีขึ้นในวันที่3 มีนาคมของทุกปี ฮินะมัทสึริหรือเทศกาลสำหรับเด็กผู้หญิง เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ หรือประมาณปี ค.ศ. 1603-1867 ในอดีตชาวญี่ปุ่นเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลลูกท้อหรือ Momo-no-Sekku หากบ้านใดที่มีลูกสาว พ่อแม่ต้องเตรียมทำชั้นวางตุ๊กตาฮินะ ประกอบด้วยตุ๊กตาจักรพรรดิและจักรพรรดินี นางสนองพระโอษฐ์ 5 คน นักดนตรี 5 คน แต่งตัวอย่างสวยงามเต็มยศพร้อมข้าวของเครื่องใช้นำไปวางไว้กับลูกท้อ เค้กที่ทำจากข้าว ขนมที่มีสีขาว-แดง และสาเก วันนั้นจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างเบิกบาน โดยพ่อแม่จะอธิษฐานขอพรให้กับลูกสาวโตขึ้นอย่างมีความสุข ข้อดีของเทศกาลนี้ คือ การยกย่องเพศหญิงซึ่งในอนาคตจะต้องดูแลบุตรให้เติบโตต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น